กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

ผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หรือ Ptosis เป็นภาวะเปลือกตาตกหรือหนังตาตกหย่อนลงมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากกล้ามเนื้อยกเปลือกตาทำงานได้ไม่เต็มที่ ทำให้ลืมตาได้น้อย ลักษณะเปลือกตาบนจึงคลุมปิดตาดำมากเกินกว่าปกติ

ในบางรายหากเปลือกตาตกลงมากจนบังรูม่านตาจะมีผลต่อการมองเห็นและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ซึ่งภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนี้ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย บางรายเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือบางรายอาจเป็นตอนอายุเพิ่มขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ยกเปลือกตามีอาการหย่อนยานหรือยืดจากการใช้งานบ่อย อาจเป็นข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ ทำให้ตาดูไม่เท่ากัน ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลิกภาพอย่างเห็นได้ชัด ทำให้หลายคนต้องทำการรักษาโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากอะไร ?

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิด

เป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่แรกเกิด ลักษณะดวงตาของเด็ก จะไม่มีรอยพับชั้นตา ลืมตาได้ไม่เต็มที่ เป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากกล้ามเนื้อตาไม่พัฒนา หรือเกิดจากภาวะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือมีความผิดปกติของเส้นประสาทสมอง ทำให้เด็กมีภาวะหนังตาตกปิดตาดำมากกว่าปกติ ตาดูปรือ ลืมตาไม่ค่อยขึ้น กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแต่กำเนิดหรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงในเด็ก อาจทำให้ตาข้างใดข้างหนึ่งมองเห็นน้อยกว่าอีกข้าง จากหนังตาตกทับดวงตา บังการมองเห็น ส่งผลให้สมองด้านนั้นไม่ได้รับการกระตุ้น จนอาจเกิดภาวะตาขี้เกียจและตาเอียงร่วมด้วย

พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันได้เช่นกัน โดยเฉพาะคนทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ตลอดทั้งวัน หรือคนที่ใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ตเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีการพักสายตา จะทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า หรือการใส่คอนแทคเลนส์ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาถูกยืดออก จนเกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้

การหลั่งสารสื่อประสาทที่ผิดปกติ

โรค Myasthenia Gravis โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน จนเกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ อาการที่พบบ่อยของผู้ป่วยโรค MG คือ อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อยกเปลือกตา ทำให้เกิดภาวะหนังตาตก ลืมตาลำบาก กลอกตาผิดปกติ มองเห็นภาพซ้อน โฟกัสภาพไม่ได้ หากมองอย่างผิวเผิน อาการอาจคล้ายคลึงกับภาวะตาล้า ตาแห้ง ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบกันมากในคนวัยทำงาน เพราะต้องใช้สายตาในมองหน้าจอคอมพิวเตอร์และจอโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานตลอดทั้งวัน จึงควรรับการวินิจฉัยจากแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ โรค MG ไม่ได้ส่งผลเสียต่อการมองเห็นเท่านั้น แต่ยังอาจเกิดการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย เช่น กล้ามเนื้อที่ใช้ในการกลืนและหายใจ ทำให้เกิดภาวะกลืนลำบาก สำลักอาหารบ่อย และหายใจผิดปกติ เบื้องต้นเมื่อเกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แล้วสงสัยว่าเข้าข่ายโรค MG ควรปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อประเมินอาการโดยเร็วที่สุด

โรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ส่วนใหญ่มีอาการ ดังนี้

  • หนังตาตก
  • ลืมตาไม่ขึ้น
  • ปัญหาการเลิกคิ้ว
  • ขยี้ตาบ่อย
  • ระดับของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

    ลักษณะดวงตาของคนเราโดยปกติแล้ว ขอบตาบนจะคลุมปิดตาดำลงมาไม่เกิน 1-2 มิลลิเมตร แต่ถ้าหากมีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถสังเกตจากระดับของขอบตาบนได้ดังนี้

  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับเริ่มต้น : หากขอบตาบน ปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 2 มิลลิเมตร
  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับกลาง : หากขอบตาบน ปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 3 มิลลิเมตร
  • ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับรุนแรง : หากขอบตาบน ปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 4 มิลลิเมตร
  • การผ่าตัดกล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง

    ผ่าตัดดึงกล้ามเนื้อเปิดตา มักทำในรายที่มีการตกมาก แรงกล้ามเนื้อยังพอมี หรือเคสที่เคยผ่ามาก่อน ซึ่งจะใช้เทคนิคการลงแผลด้านนอกที่ชั้นตา (Levator Surgery) โดยผ่าตัดจะเข้าไปในชั้นกล้ามเนื้อลึกด้านใน เป็นการดึงเพื่อให้กล้ามเนื้อเปิดตาทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จะมีแผลเดียวกับการทำตาสองชั้น อยู่ที่แนวเปลือกตา อาการบวมช้ำจะเหมือนการทำตาสองชั้นปกติ โดยเฉลี่ยจะใช้เวลา 1 เดือนชั้นตาจึงจะเข้าที่ชัดเจน

    การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด

  • ถ้ามีโรคประจำตัว แพ้ยา แพ้อาหาร แจ้งให้แพทย์ทราบก่อน
  • งดสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก่อนและหลังผ่าตัดอย่างน้อย 4 สัปดาห์
  • งด วิตามิน อาหารเสริมทุกชนิด ที่อาจมีผลกับการแข็งตัวของเลือด เช่น Multivitamins, Fish oil
  • ในวันผ่าตัด ควรงดแต่งหน้าจัด ถอดเก็บของมีค่า เครื่องประดับที่เป็นโลหะทุกชนิด เพราะมีผลต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์
  • การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

  • ควรยกศีรษะสูงในช่วง 3 วันแรก (นอนหนุนหมอน 2-3 ใบ)
  • หลังผ่าตัดตา อาจมีเลือดซึมซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ การดูแลตนเองควรประคบเย็นบริเวณรอบดวงตาและหน้าผากด้วยผ้าเย็นหรือ Gel pack ประมาณ 1-2 วัน เพื่อช่วยให้หลอดเลือดหดตัว ลดอาการเลือดออก และลดบวมได้อีกด้วย
  • หลีกเลี่ยงการนอนตะแคงทับแผล หรือขยี้ตา หลังทำประมาณ 1 สัปดาห์
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการสูบบุหรี่ จนกว่าแผลจะหายดี
  • งดทานของหมักดอง กะปิ ปลาร้า หลังผ่าตัดประมาณ 3 สัปดาห์
  • ควรงดออกกำลังกายหนัก 4 สัปดาห์
  • หลังผ่าตัดควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • นัดติดตามอาการกับแพทย์ ตัดไหม 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด
  • รีวิวเคสผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

    ปรึกษาแพทย์หรือพยาบาล